เมนู

นิเสธกํ ความว่า ท่านจะไม่ได้การข่มขู่ครอบงำปราบปรามคน
เช่นเราได้เลย วันนี้เราจะให้ท่านหนีไปตามทางที่ท่านมานั่นเอง.
บทว่า อาสชฺชสิ ได้แก่เข้าไปใกล้. บทว่า คชมิว เอกจารินํ
ได้แก่ ดุจช้างเมามันผู้เที่ยวไปโดดเดี่ยว. บทว่า โย ตํ ปทา
นฬมิว โปถยิสฺสติ
ความว่า กองทัพของเราจักบดขยี้ท่านให้
แหลกไป เหมือนช้างเมามันบดขยี้ไม้อ้อแหลกรานด้วยเท้าฉะนั้น.
ฝ่ายพระเจ้าคันธารราชได้สดับคำของพระโพธิสัตว์ตรัส
ขู่ขวัญฉะนี้แล้ว ทอดพระเนตรดู ทรงเห็นพระนลาฎเช่นกับ
แผ่นทองคำ กลัวจะถูกจับ พระองค์จึงหันกลับหนีคืนสู่นครของ
พระองค์.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระเจ้าคันธารราชในครั้งนั้นได้เป็นปริพาชกในครั้งนี้.
ส่วนพระเจ้าพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาทุติยปลายิชาดกที่ 10

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ


1. กาสาวชาดก 2. จุลลนันทิยชาดก 3. ปุฏภัตตชาดก
4. กุมภีลชาดก 5. ขันติวรรณนชาดก 6. โกสิยชาดก 7. คูถ-
ปาณกชาดก 8. กามนีตชาดก 9. ปลายิชาดก 10. ทุติยปลายิ-
ชาดก.
จบ กาสาววรรคที่ 8

9. อุปาหนวรรค



1. อุปาหนชาดก



อนารยชนย่อมใช้ศิลปะในทางผิด


[311] รองเท้าที่คนซื้อมา เพื่อประโยชน์จะให้
สบายเท้า กลับนำเอาความทุกข์มาให้ รองเท้านั้น
ถูกแดดเผาบ้าง ถูกพื้นเท้าครูดสีบ้าง ก็กลับกัด
เท้าของผู้นั้นนั่นแหละ ฉันใด.
[312] ผู้ใดเกิดในตระกูลต่ำ ไม่ใช่อารยชน เรียน
วิชาและศิลปมาจากสำนักอาจารย์ได้แล้ว ผู้นั้น
ย่อมฆ่าตนเองด้วยศิลปที่เรียนมาในสำนักของ
อาจารย์นั้น ฉันนั้น บุคคลนั้น บัณฑิตเรียกว่า
ไม่ใช่อารยชน เปรียบด้วยรองเท้าที่ทำไม่ดี
ฉะนั้น.

จบ อุปาหนชาดกที่ 1

อรรถกถาอุปาหนวรรคที่ 9



อรรถกถาอุปาหนชาดกที่ 1



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ยถาปิกตา ดังนี้.